อาการนอนไม่หลับ สามารถรักษาให้หายขาดได้

นอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นโรคความผิดปกติในการนอน นอนยาก ไม่ง่วงเมื่อถึงเวลานอน นอนหลับไม่สนิท นอนแล้วตื่นกลางดึก ตื่นแล้วกลับไปนอนไม่ได้อีก หรือแม้จะรู้สึกอ่อนเพลียเพียงใดก็ไม่สามารถนอนหลับได้ กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่รบกวนจิตใจและกระบวนการทำงานของร่างกาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงานและความสัมพันธ์กับผู้อื่น

อาการของโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับมีอาการสำคัญ ดังนี้

นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ใช้เวลานานกว่าจะนอนได้

หลับยาก นอนดึก ตื่นสาย

นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ รู้สึกตัว ตื่นขึ้นกลางดึก

ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับต่อไปได้อีก

อ่อนล้า หมดแรง ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า

ง่วงนอนตลอดเวลาในตอนกลางวัน นอนไม่หลับในตอนกลางคืน

ร่างกายอ่อนเพลีย ต้องการการพักผ่อน แต่ก็ยังนอนไม่หลับ หลับยาก

ไม่มีสมาธิ ทำงานผิดพลาด ความจำไม่ดี

ส่วนการรักษาด้วยยาบางชนิดก็มีผลต่อการนอนไม่หลับ เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids) อย่างคอร์ติโซน (Cortisone) เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) และเพรดนิโซน (Prednisone) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาอาการอักเสบของเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ ยากลุ่มนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต ส่งผลต่อประสาทการรับรู้และการตอบสนอง ทำให้ร่างกายตื่นตัวจนนอนไม่หลับ และกลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressants) อย่างซิตาโลแพรม (Citalopram) เอสซิตาโลแพรม (Escitalopram) และฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) เป็นยาที่ส่งผลต่อสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ควบคุมประสาทการรับรู้ ความรู้สึก และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การใช้ยาเหล่านี้จึงอาจกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทให้ตื่นตัว รู้สึกตัว จนอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ ดังนั้น การรักษาและใช้ยาบางชนิดจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์

ปัจจัยอื่น ๆ นอกจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น อาการนอนไม่หลับอาจเกิดจากลักษณะนิสัยเฉพาะตัว การนอนผิดเวลาไปจากเวลาปกติที่ร่างกายคุ้นเคย เช่น การทำงานเป็นกะ หรือการปรับตัวไม่ทันจากการเดินทางข้ามเขตเวลาโลก (Jet Lag) การกินอาหารที่มากเกินไปก่อนนอนทำให้นอนหลับไม่สบายตัว การดื่มและใช้สารเสพติด เช่น คาเฟอีนในกาแฟหรือชา นิโคตินในบุหรี่ และยาเสพติดต่าง ๆ ที่มีสารกดประสาท